เคพีเอ็มจี เผยกรณีศึกษาจากยุทธศาสตร์ Belt and Road Initiative ในประเทศจีนที่สามารถนำมาปรับใช้ได้กับประเทศไทย

เคพีเอ็มจี เผยกรณีศึกษาจากยุทธศาสตร์ BRI ในประเทศจีน

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย จัดงานสัมมนาในหัวข้อ "อนาคตของโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย" ณ ห้องรับรองของเคพีเอ็มจี ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2561

1000
นายธเนศ เกษมศานติ์ และ จูเลียน เวลล่า

กรุงเทพฯ, วันที่ 23 พฤษภาคม 2561 – เคพีเอ็มจี ประเทศไทย จัดงานสัมมนาในหัวข้อ "อนาคตของโครงสร้างพื้นฐานในประเทศไทย" ณ ห้องรับรองของเคพีเอ็มจี ในวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 งานสัมมนาครั้งนี้จัดขึ้น เพื่อชี้โอกาส พร้อมเรียนรู้จากกรณีศึกษาในประเทศจีนและเทรนด์โครงสร้างพื้นฐานโลก เพื่อนำมาประยุกต์กับประเทศไทยที่กำลังเดินหน้าพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เช่น โครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคตะวันออก (Eastern Economic Corridor – EEC) โดยภายในงาน ได้รับเกียรติจาก จูเลียน เวลล่า หัวหน้าดูแลฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน เคพีเอ็มจี เอเชียแปซิฟิก และนายธเนศ เกษมศานติ์ กรรมการบริหารและหัวหน้าดูแลรับผิดชอบฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

เทรนด์ด้านโครงสร้างพื้นฐาน ที่วิเคราะห์โดยเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ระบุประเด็นความก้าวหน้าของโครงสร้างพื้นฐาน ที่จะมีบทบาทในการปรับบริบทของโครงสร้างพื้นฐานในปัจจุบัน ตั้งแต่ ความท้าทายจากการรักษาพื้นที่สาธารณะและความมั่นคงด้านโครงสร้างพื้นฐาน ไปถึงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานที่มีความยืดหยุ่นสำหรับอนาคต ประโยชน์ของข้อมูลขนาดใหญ่และประเด็นความยั่งยืนในอุตสาหกรรมโครงสร้างพื้นฐาน นอกจากนี้ รายงานฉบับนี้เน้นย้ำถึงความขัดแย้งและความไม่แน่นอนทางการเมืองและสังคมในปัจจุบัน ที่อาจนำไปสู่การชะลอการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน อย่างไรก็ดี ทางภูมิภาคเอเชียตะวันออกได้มีการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานขนาดใหญ่ เนื่องจากรัฐบาลภูมิภาคนี้ต่างตระหนักดีว่า การเชื่อมต่อระหว่างเมืองและกับประเทศอื่น ๆ จะช่วยยกระดับการขนส่งและเศรษฐกิจ เพิ่มประสิทธิภาพและยกมาตรฐานความเป็นอยู่ของประชาชน

โครงสร้างพื้นฐานมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาอย่างรวดเร็วของประเทศจีน โดยมีโครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน ที่มุ่งสร้างการเชื่อมต่อกับประเทศอื่น ๆ โครงการริเริ่มแถบเศรษฐกิจและเส้นทาง (Belt and Road Initiative – BRI) ซึ่งเป็นความคิดริเริ่มเชิงยุทธศาสตร์ด้านโครงสร้างพื้นฐานของประเทศจีน ที่ประกาศโดยประธานาธิบดี สี จิ้นผิง เมื่อปี  2556 เป็นเส้นทางทางบกจากประเทศจีนผ่านทวีปเอเชียกลางไปยังทวีปยุโรป โดยมีเส้นทางการเดินเรือที่ผ่านมหาสมุทรอินเดีย เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ตะวันออกกลางและแอฟริกาไปยังยุโรปตอนใต้ ความคิดริเริ่มนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเพิ่มการค้าและขยายความเจริญรุ่งเรืองไปสู่ประชากรรวม 4 พันล้านคนในกว่า 60 ประเทศ 

จูเลียน เวลล่า หัวหน้าดูแลฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน เคพีเอ็มจี เอเชียแปซิฟิก

จูเลียน เวลล่า หัวหน้าดูแลฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน เคพีเอ็มจี เอเชียแปซิฟิก

"BRI เป็นหนึ่งในโครงสร้างพื้นฐานสำคัญที่จะใช้เวลาพัฒนาก่อสร้างอีกหลายทศวรรษ เราจะได้เห็นการพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานที่สำคัญในประเทศจีนและทั่วทั้งโครงการ BRI ซึ่งจะช่วยกระตุ้นการค้าและการเติบโตทางเศรษฐกิจภายในประเทศจีน ทั่วทั้งเอเชียและในพื้นที่อื่น ๆ” จูเลียน เวลล่า หัวหน้าดูแลฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน เคพีเอ็มจี เอเชียแปซิฟิก กล่าว

“มากกว่าการเรียนรู้จากประโยชน์ของการเชื่อมต่อด้านภูมิศาสตร์ในด้านโครงสร้างพื้นฐาน ความสำเร็จล่าสุดของประเทศจีนยังเป็นจุดเริ่มต้นการถกประเด็นที่เกี่ยวข้องอื่น ๆ ที่มีความสำคัญต่อโครงสร้างพื้นฐานของประเทศไทยและการพัฒนาทางเศรษฐกิจอย่างต่อเนื่อง” เวลล่า กล่าวเสริม “ซึ่งรวมถึงหัวข้อต่าง ๆ เช่นการพัฒนาวิสัยทัศน์ร่วมกัน จัดทำบทสนทนาเกี่ยวกับนโยบาย การบรรเทาความเสี่ยงทางการเมืองและกฎระเบียบ ความมุ่งมั่นในการพัฒนาอย่างยั่งยืนและการส่งเสริมนวัตกรรม"1

เมื่อต้นปีที่ผ่านมา ประเทศไทยอนุมัติแผนการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐาน โดยมีงบประมาณรวมประมาณ 1.6 ล้านล้านบาท ซึ่งจะมีบทบาทอำนวยความสะดวกในการพัฒนาโครงการ EEC โครงการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานเหล่านี้จะช่วยพัฒนาการขนส่งแบบต่อเนื่องในพื้นที่ EEC และพื้นที่ที่เกี่ยวข้องกับ BRI รวมทั้งเพื่อลดปัญหาความหนาแน่นในกรุงเทพมหานคร ด้วยระบบรถไฟความเร็วสูงจากกรุงเทพฯ ถึง EEC และบรรเทาความแออัดของท่าอากาศยานดอนเมืองและสุวรรณภูมิ ด้วยสนามบินอู่ตะเภาให้เป็นสนามบินนานาชาติหลักที่ 3 ของประเทศไทย2

นอกจากสนามบินนานาชาติอู่ตะเภาแล้ว รถไฟความเร็วสูงเชื่อม 3 สนามบิน ท่าเรือมาบตาพุด ระยะที่ 3 ท่าเรือแหลมฉบัง ระยะที่ 3 ศูนย์ซ่อมอากาศยานอู่ตะเภาและเขตส่งเสริมอุตสาหกรรมและนวัตกรรมดิจิทัลได้รับการอนุมัติจากคณะกรรมการนโยบายการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก เพื่อช่วยการเชื่อมโยงด้านการขนส่งระหว่างพื้นที่และส่งเสริมการเติบโตของเศรษฐกิจในประเทศไทย

นายธเนศ เกษมศานติ์ กรรมการบริหารและหัวหน้าดูแลรับผิดชอบฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

นายธเนศ เกษมศานติ์ กรรมการบริหารและหัวหน้าดูแลรับผิดชอบฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

“โครงการ EEC จะช่วยส่งเสริมการลงทุนในโครงสร้างพื้นฐาน อุตสาหกรรมและโครงการด้านสังคมอื่น ๆ ซึ่งจะช่วยเสริมสร้างเศรษฐกิจไทย การเติบโตของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และการพัฒนาทางสังคมรวมทั้งการเชื่อมโยงกับประเทศต่าง ๆ” นายธเนศ เกษมศานติ์ กรรมการบริหารและหัวหน้าดูแลรับผิดชอบฝ่ายโครงสร้างพื้นฐาน เคพีเอ็มจี ประเทศไทย “ด้วยประโยชน์และโอกาสที่เกิดขึ้นจากรัฐบาลไทย นี่เป็นโอกาสที่น่าสนใจสำหรับภาคธุรกิจ ไม่ว่าจะผ่านการลงทุนโดยตรง หรือการร่วมลงทุนและมีส่วนร่วมในการลงทุนระหว่างรัฐกับเอกชน (Public Private Partnerships – PPP)”

 

English version: KPMG advises key takeaways from China’s Belt and Road initiatives that can be applied to Thailand

เกี่ยวกับเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล

เคพีเอ็มจี เป็นเครือข่ายระดับโลกของบริษัทผู้เชี่ยวชาญด้านการสอบบัญชี ภาษี และการให้คำปรึกษา เราดำเนินงานใน 154 ประเทศ และมีพนักงานมากกว่า 200,000 คน ที่ทำงานร่วมกันในบริษัทสมาชิกทั่วโลก บริษัทที่เป็นสมาชิกเครือข่ายเคพีเอ็มจีจะถือเป็นสมาชิกของเคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล โคออเปอเรทีฟ (KPMG International) เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล เป็นบริษัทสัญชาติสวิส ทั้งนี้ แต่ละบริษัทที่เป็นสมาชิกเคพีเอ็มจีเป็นนิติบุคคลที่แยกต่างหากจากกัน และมีอิสระตามกฎหมาย

เกี่ยวกับ เคพีเอ็มจี ประเทศไทย

เคพีเอ็มจี ประเทศไทย เป็นสมาชิกของ เคพีเอ็มจี อินเตอร์เนชั่นแนล ที่มีเครือข่ายทั่วโลก ซึ่งให้บริการด้านตรวจสอบบัญชี ภาษีและกฎหมาย และให้คำปรึกษาทางธุรกิจ ปัจจุบันมีพนักงานมากกว่า 1,700 คน

สำหรับสื่อมวลชน กรุณาติดต่อ:

พลอย พยัฆวิเชียร
เบอร์โทรศัพท์: 02 677 2034
อีเมล: ploi@kpmg.co.th

แพรวพรรณ หลวงไผ่พล
เบอร์โทรศัพท์: 02 677 2141
อีเมล: praewpan@kpmg.co.th

1 World Economic Forum, “The New Silk Road: 8 steps to ensuring China’s $900 billion project is a success,” World Economic Forum, https://medium.com/world-economic-forum/the-new-silk-road-8-steps-to-ensuring-chinas-900-billion-project-is-a-success-d2415ac7c7f3 (accessed May 17, 2018).

2 EEC : Eastern Economic Corridor, “The Eastern Economic Corridor Policy Committee Meeting NO.1/2018,” EEC : Eastern Economic Corridor https://www.eeco.or.th/en/pr/news/eastern-economic-corridor-policy-committee-meeting-no12018 (accessed May 17, 2018).

Some or all of the services described herein may not be permissible for KPMG audit clients and their affiliates or related entities.

 

© 2024 KPMG Phoomchai Holdings Co., Ltd., a Thai limited liability company and a member firm of the KPMG global organization of independent member firms affiliated with KPMG International Limited, a private English company limited by guarantee. All rights reserved.

For more detail about the structure of the KPMG global organization please visit https://kpmg.com/governance.

Connect with us